คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ ผลิตภัณฑ์ “ISO-PAUSE, soft creamy tempeh”
ในโอกาสได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (Second runner up) ประเภท General public
ผลงานของอาจารย์และนิสิตภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทองสุข หัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
นางสาวจิรัชยา จัดพล นิสิตระดับปริญญาเอก
นายวราเทพ บัวสุ่ม นิสิตระดับปริญญาโท
นางสาวกัลยรัตน์ บานแย้ม นิสิตระดับปริญญาโท
นางสาวณัฏฐ์ชานันท์ รักธัญญาการ นิสิตระดับปริญญาตรี
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษศาสตร์ฯ และผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไขมันและน้ำมัน อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
จากการแข่งขัน ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023 ประเภทบุคคลทั่วไป (General Public) ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Queen’s University Belfast (QUB) สหราชอาณาจักร ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านความมั่นคงทางอาหาร (IJC-FOODSEC)
จัดขึ้นเมื่อที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ISO-PUASE ผลิตภัณฑ์พร้อมทานจากเทมเป้ในรูปแบบ soft cream อุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ที่สามารถทำงานทดแทนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดย ISO-PAUSE เพียง 1 ซอง (25 g) มี Isoflavones เทียบเท่ากับน้ำเต้าหู้ 1 แก้ว หรือเต้าหู้ 2 ก้อน และมีส่วนผสมของแคลเซียมและวิตามิน D (50% Thai RDI) โดยทั้ง Isoflavones แคลเซียม และวิตามิน D เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยพรีไบโอติกส์ (Prebiotic) จากธรรมชาติและสารอาหารต่างๆ ที่สามารถดูดซึมได้ง่ายซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการหมักเทมเป้อีกด้วย
ISO-PAUSE เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูพรุนทดแทนการบริโภคยาฮอร์โมน แคลเซียมและวิตามินแบบเม็ดได้ มีรสโยเกิร์ตและรสช็อกโกแลต เหมาะสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุและผู้รักสุขภาพ
การแข่งขัน ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023 เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความมั่นคงอาหาร ASEAN-ASSET 2023: Global Summit on The Future of Future Food ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคงของอาหารเพื่ออนาคต ซึ่งมุ่งเน้นขอบเขตอาหารในอนาคต ความปลอดภัยอาหารในอนาคต ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการศึกษาสำหรับอาหารในอนาคต และแนวโน้มปัจจุบันและอนาคตของอาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วทุกมุมโลก มากกว่า 400 คน และมีผู้นำเสนอผลงานมากถึงจำนวน 36 เรื่อง ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการ นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืน
Cr.ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.nu.ac.th/?p=36790